ปลาเทโพลูกผสม (ปลาเขียวมรกต ปลาปึ่งหูหลุด)
-
ชื่อ: ปลาเทโพลูกผสม (ปลาเขียวมรกต ปลาปึ่งหูหลุด)
-
ชื่อท้องถิ่น: ปลาปึ่งหูหลุด
-
ชื่อวงศ์: -
-
ชื่อวิทยาศาสตร์: -
-
ชื่อสามัญ: -
-
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา: ปลาชนิดนี้เป็นปลาลูกผสม ระหว่างปลาสวาย และ ปลาเทโพ ส่งผลให้มีลักษณะร่วมหลายประการของพ่อแม่ปรากฏร่วมในรุ่นลูก ปลาชนิดนี้ในขนาดบริโภคมีลักษณะคล้ายปลาสวายมาก แต่จะมีลำตัวและส่วนหัวสั้นกว่าคล้ายกับปลาเทโพ โดยเฉพาะครีบหางที่เว้าลึก ในลูกปลาวัยอ่อนปลาลูกผสมจะเห็นแต้มสีเข้มลางๆ เหนือครีบอก ซึ่งแต้มดังกล่าวจะค่อยๆ จางลงเมือปลาโตขึ้น (เป็นที่มาของชื่อท้องถิ่นว่า ปลาหูหลุด) นอกจากนี้สีของปลาลูกผสมชนิดนี้มีสีเขียวมะกอกสดใสโดยเฉพาะบริเวณส่วนหลังและด้านบนของส่วนหัวมี หนวดบริเวณริมฝีปากบน (maxillary barbel) มีสีดำยาวเกือบถึงขอบของกระดูกแผ่นปิดเหงือกโดยมีความยาวเลยขอบด้านท้ายของกระดูกปิดเหงือก หนวดบริเวณคาง (mental barbel) สั้นกว่าหนวดคู่แรกมีสีขาว ในขณะที่ยังมีชีวิต (จากการสังเกตในตู้เลี้ยง) ปลามักรวมฝูงกันอยู่บริเวณแนวกลางตู้ (คล้ายคลึงกับปลาเทโพ) เมื่อให้อาหารปลาจะตื่นตัวกินอาหารอย่างรวดเร็ว ครีบอก ครีบท้องและ ครีบก้นมีสีขาว ครีบหลังและครีบหางมีสีคล้ายสีบนส่วนหลัง
-
ถิ่นที่อยู่อาศัย: อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่
-